ร้านลูกปัดลงหนังสือเส้นทางเศรษฐี



เส้นทางเศรษฐี (มติชน)
www.matichon.co.th
ปีที่ 17 ฉบับที่ 282 ปักษ์แรกสิงหาคม 2544


จากแผงลอยริมฟุตปาธ
"เมย์บีด" ลูกปัด สู่รางวัล สุดยอด SMEs แห่งชาติ

"...เจ้าหนี้อาจเห็นว่าคุณแม่ ตรงไปตรงมาและขยันหมั่นเพียรดี จึงแนะนำให้ลองขายเครื่องประดับทำจากลูกปัด เพราะเห็นขายของมาหลายอย่างแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จสักที"

"เมย์ บีด" ร้านขายงานสำเร็จและอุปกรณ์ลูกปัดใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นธุรกิจที่พัฒนาการที่น่าชื่นชม เริ่มต้นจากร้านแผงลอยเล็ก ๆ ริมฟุตบาธหน้าตลาดวโรรส แต่ใช้ความอุตสาหะผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ กระทั่งสามารถเติบโตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปบริษัท ด้วยเงินทุนถึง 7 หลัก

ล่าสุด ได้รับรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ ประจำปี 2553 ประเภทชมเชย เพียงกิจการเดียวในสาขา กลุ่มธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

ปัจจุบัน บริษัท เมย์ บีด จำกัด ตั้งอยู่ในย่านการค้าสำคัญบนถนน ข่วงเมรุ ตำบลช้างม่อย มีผลิตภัณฑ์หลักจำหน่าย ได้แก่ เครื่องประดับแฮนด์เมดสำเร็จรูป และอุปกรณ์ในการทำเครื่องประดับแฮนด์เมด

ส่วนรูปแบบดำเนินการทางธุรกิจเป็นลักษณะ ซื้อมา-ชายไป, รับออกแบบและทำงาน ถัก ร้อย ติด มัด ฯลฯ ตามคำสั่งซื้อจากลูกค้า

ผู้เป็นแม่บุกเลิก เจ้าหนี้ชี้ทางทำกิน

ช่วงเช้าของวันนัดหมายพูดคุยกัน ซึ่งเป็นวันเปิดร้านตามปกติ คุณ เมสิณี เทพดา หรือ คุณเมย์ วัย 24 ปี กรุณาสละเวลามาให้ข้อมูลด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม เริ่มต้นให้ฟังในฐานะผู้จัดการบริษัท และลูกสาวคนเดียวของ คุณ เกษร โพธิสัตย์ ผู้ก่อตั้งกิจการ ว่าพื้นเพดั้งเดิมของคุณ เกษร ผู้เป็นแม่อยู่จังหวัดเชียงราย ครอบครัวมีพี่น้องหลายคน จึงดิ้นรจออกจากบ้านมาหางานทำในเมืองใหญ่ อย่างเชียงใหม่ คุณแม่ของเธอ ทำอาชีพเลี้ยงตัวมาแล้วสารพัด นับตั้งแต่ กระเป๋ารถเมล์ ขายอาหารอีสานบนรถพ่วง กระทั่งจับพลัดจับผลูได้มาเป็นแม่ค้าขายพรมเช็ดเท้าริมฟุตบาธ

จนมาถึงช่วงปี 2540 เศรษฐกิจตกต่ำ กิจการค้าขายที่ทำอยู่ไปได้ไม่ดี ทำให้ต้องติดหนี้สินนอกระบบก้อนใหญ่ คุณแม่เลยตัดสินใจเดินเข้าไปเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อขอหยุดพักหยุดชำระทั้งต้นและดอกเบี้ยไว้ก่อนเป็นเวลานาน 1 ปี

"ตอนนั้นขายของได้เท่าไหร่ต้องไปใช้หนี้หมด จึงไปขอพักหนี้ ยืนยันว่าไม่หนี แต่ขอหยุดไว้ก่อน เจ้าหนี้อาจเห็นว่าคุณแม่ ตรงไปตรงมาและขยันหมั่นเพียรดี จึงแนะนำให้ลองขายเครื่องประดับทำจากลูกปัดเพราะเห็นขายของมาหลายอย่างแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จสักที" คุณเมย์ ย้อนความทรงจำเมื่อครั้งเธอยังเป็นเด็กหญิง

หลักจากนำเครื่องประดับ จำพวก กำไล สร้อยคอ ทำจากลูกปัด มาวางขายตามคำแนะนำของเจ้าหนี้ ทำให้มีรายได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยยามว่างเว้นจากลูกค้า คุณแม่ของเธอ จะนำชิ้นงานที่ชำรุด มาซ่อมแซมไปพลาง ทำให้คนที่เดินผ่านไปมาสนใจและอยากได้อุปกรณ์ในการซ่อมแซมดังว่าไปใช้บ้าง

เมื่อเห็นความต้องการซื้อของลูกค้า คุณแม่ของเธอ จึงรับสินค้ามาจำหน่ายเพิ่ม เป็นพวกอุปกรณ์ในการทำเครื่องประดับ เช่น เชือกเทียน,ตะขอ,และลูกปัด สีสัน-รูปแบบ หลากหลาย วางขายแบบให้ตักซื้อกันช้อนละ 10 บาท

ดำเนินกิจการไปได้ราวปีเศษ หน่วยงานในจังหวัด จัดให้มี "ถนนคนเดิน" แถวประตูท่าแพ เปิดให้บรรดาพ่อค้า-แม่ขาย มาตั้งแผงค้าในย่านประตูท่าแพ ช่วงวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ คุณแม่ของเธอ จึงใช้โอกาสนี้ประชาสัมพันธ์ร้าน ให้ลูกค้ารู้จักด้วยการนำใบปลิวทำขึ้นเองแบบง่าย ๆ ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ ไปแจกเพื่อแนะนำตัว ซึ่งได้ผลสมกับตั้งใจ นับแต่นั้นมา กิจการจึงเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

ถึงครวมปรับตัว รับเศรษฐกินฟุบ

เมื่อแผนการประชาสัมพันธ์ ผ่านไปได้ด้วยดี สองแม่ลูก เจ้าของกิจการคู่นี้ ยังไม่มีทีท่าจะหยุดนิ่งตั้งรับแต่อย่างใด หากแต่พยายามคิดต่อในประเด็นใหม่ที่ว่า คนที่จะมาอุดหนุนสินค้าภายในร้านของเธอนั้นจะต้องเป็นกลุ่มคนที่ "ทำเป็น" ดันนั้นหากสามารถสร้างให้ลูกค้าทำเครื่องประดับแฮนด์เมดกันเป็นเพิ่มขึ้น แน่นอนว่ายอดขายสินค้าในร้านของเธอย่อมจะต้องสูงขึ้นไปด้วยเป็นเงาตามตัว

คิดได้ดังนั้น ทั้งคุณเกษร และคุณเมย์ ซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก็ใช้เวลาส่วนหนึ่ง มาทำหน้าที่เป็นวิทยากร ถ่ายทอดวิชาการทำเครื่องประดับแฮนด์เมด ทุกชนิด ทั้งสร้อยคอ กำไล ตุ้มหู ฯลฯ ให้กับผู้สนใจทุกเพศ-วัย คิดค่าใช้จ่าย ลดหลั่นกันไป ตามแต่จำนวนชั่วโมงในการเรียน

"ร้านของเราขายอุปกรณ์ทำเครื่องประดับ ถ้าลูกค้าทำไม่เป็น หรือมีคนทำเป็นกันน้อย ร้านเราคงอยู่ไม่ได้ เลยต้องพยายามให้ลูกค้ามีความรู้ในด้านนี้กันมากๆ ซึ่งต่อมาไม่นานพวกเขา สามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพของตัวเองได้ เลยเหมือนมีส่วนช่วยให้พวกขาวมีอาชีพเลี้ยงตัว มันเป็นความภาคภูมิใจของเราด้วย" คุณเมย์ เล่าก่อนยิ้มกว้าง

ทุกวันนี้กิจการ "เมย์ บีด" ลูกปัดจัดว่า เป็ฯร้านขายงานสำเร็จและอุปกรณ์ลูกปัดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด นึกสงสัยในช่วงเศรษญกิจตกต่ำ มีปัญหาที่ให้ต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง คุณเมย์ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ก่อนเล่าธุรกิจของเธอ ค่อนข้างจะได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะช่วงเศรษฐกิจฟุบ เชียงใหม่ แทบจะไม่มีนักท่องเที่ยว ถนนคนเดินขายไม่ได้ ร้านขายอุปกรณ์ทำเครื่องประดับแฮนด์เมดจึงย่อมจะขายไม่ได้ตามไปด้วย

ดังนั้น กิจการของเธอจึงต้องมีการปรับตัว จากที่เคยมีลูกจ้างในร้านเกือบ 30 คน ต้องลดให้เหลือไม่เกิน 10 คน แต่ละคนต้องทำได้หลายหน้าที่ เจ้าของกิจการ ต้องทำได้ทุกอย่าง จากนั้นจึงค่อยถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกน้องเหมือนกันหมด

"เด็กในร้านต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็น เพราะลูกค้าหน้าร้านเงียบมาก เลยต้องจริงจังกับการทำธุรกิจผ่านทางเว็บไซต์ ที่สามารถรอบรับทั้งลูกค้าต่างประเทศและต่างจังหวัด และเห็นได้ชัดว่า จากเดิมยอดขายผ่านเว็บไซต์เคยน้อยกว่าหน้าร้าน แต่ตอนนี้กลายเป็นว่ายอดขายเกือบเท่ากันแล้ว" คุณเมย์เผยให้ฟัง

จุดยืนธุรกิจ อย่าคิดเก่งคนเดียว

ถามถึงรางวัลสุดยอด SMEs แห่งชาติ ประจำปี 2553 ประเภทชมเชย ซึ่ง "เมย์บีด" เป็นเพียงกิจการเดียวใน สาขา กลุ่มธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ คุณเมย์ยิ้มกว้าง ก่อนเล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น ก่อนหน้านี้ กิจการของเธอ เคยได้โอทอป 3-4 ดาว และ "เชียงใหม่แบรนด์" มาแล้ว เมื่อเห็นทางเว็บไซต์ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.เปิดรับสมัครประกวดรางวัลนี้ จึงลองสมัครเข้าไปดู แต่ไม่คาดว่าจะได้มาจริง ๆ

"รู้สึกภูมิใจแทนคุณแม่ ที่จบแค่ ป.4 แต่มาถึงทุกวันนี้ได้ คงเป็นเพราะท่านเป็นคนใฝ่รู้ และชอบช่วยเหลือสังคม" คุณเมย์ บอกอย่างนั้น

เกี่ยวกับเป้าหมายทางธุรกิจซึ่งวางไว้ เจ้าของกิจการ "เมย์บีด" เผยให้ฟังว่า ในอนาคตอีกไม่กี่ปีผู้คนจะออกจากบ้านมาซื้อของกันน้อยลง การทำธุรกิจออนไลน์ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เธอจึงจะจริงจังกับการขายของผ่านหน้าเว็บไซต์ เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการขายของหน้าร้านมาก นอกจากนี้ จะสร้างสรรคการออกแบบให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า

"เครื่องประดับสำเร็จรูปของเราลูกค้าวัย 20-60 ปี คนไทยและญี่ปุ่น ให้ความนิยมกันมาก ซึ่งขายได้กำไรดีกว่าขายอุปกรณ์ ดังนั้นนับจากนี้จึงจะเพิ่มการออกแบบให้หลากหลายมากขึ้น ส่วนการสอนทำเครื่องประดับนั้นยังมีอยู่ทุกวัน เปิดคอร์สละ 3 วัน ราคา 2,000 บาท รวมอุปกรณ์แล้ว เรียนได้ทุกแบบที่มีอยู่ในร้าน" คุณเมย์อธิบาย

นับเป็นธุรกิจมีพัฒนาการน่าชื่นชม จึงถามถึงหลักในการดำเนินธุรกิจ คุณเมย์ บอกคุณแม่ของเธอ ย้ำอยู่เสมอ อย่าทำอะไรเกินตัว และอย่าคิดว่าตัวเองทำเป็นคนเดียว ถ้าทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ต้องวิ่งเข้าหาที่ปรึกษา หาคนที่มีความรู้มากกว่าเรามาช่วยอธิบาย

"ตอนเข้ามาดูแลกิจการใหม่ ๆ คิดว่าตัวเราเก่ง เพราะทำมานานแล้วตั้งแต่เด็ก แต่พอมาทำจริง ๆ มันไม่ใช่"

"การที่ว่าเก่งกว่าคู่แข่ง คิดว่าตัวเองเก๋ากว่า นั่นคือปัญหา แต่ถ้าเปิดกว้างแล้วจะมีอะไรดี ๆ เข้ามาเยอะ เปิดมุมมองใหม่ได้มาก ที่ผ่านมาเคยคิดว่าตัวเองใหญ่แล้ว แต่จริง ๆ ตัวเล็กนิดเดียวเอง" คุณทิ้งท้ายไว้อย่างนั้น

..................

"เมย์บีด" ร้านขายงานสำเร็จและอุปกรณ์ลูกปัด ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่เลขที่ 35/2 ถนนข่วงเมรุ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ (089) 835-9944,(087) 578-6715 เวปไซต์ www.lookpud.com

ข้อมูลจำเพาะ
ชื่อกิจการ : "เมย์ บีด" ลูกปัด
เจ้าของกิจการ : คุณ เกษร โพธิสัตย์ และคุณเมสิณี เทพดา
ลักษณะกิจการ : บริษัทจำกัด
สินค้า : เครื่องประดับแฮนด์เมดสำเร็จรูป และอุปกรณ์ในการทำเครื่องประดับแฮนด์เมด
จุดเด่น : ร้านขายงานสำเร็จและอุปกรณ์ลูกปัดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่
กลุ่มลูกค้า : คนไทยและญี่ปุ่น วัย 20-60 ปีฃ
วัน-เวลาทำการ : เปิดทุกวัน
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 35/2 ถนน ข่วงเมรุ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

โทรศัพท์ : (089) 835-9944,(087) 578-6715

เวปไซต์ : www.lookpud.com,www.thaibeading.com



ฝากรูป
ฝากรูป
ฝากรูป
ฝากรูป

Share this:

ABOUT THE AUTHOR

Hello We are OddThemes, Our name came from the fact that we are UNIQUE. We specialize in designing premium looking fully customizable highly responsive blogger templates. We at OddThemes do carry a philosophy that: Nothing Is Impossible

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น